ม.ภาคฯ จ.ขอนแก่น จับมือร่วมมหาวิทยาลัยไทย-ต่างประเทศ รวมพลังนักคิด -นักพัฒนา เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ งานวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 10 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 NEUNIC 2023
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00 –17.00 น. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น จัดการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ครั้งที่ 9 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 10 NEUNIC 2023 ในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน” (The 10th National and the 8th International Conference on Research and Innovation : Research and Innovation Development for Developing Sustainable Communities) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดจากผลงานวิจัย นำเสนอผลงาน การวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ด้านการวิจัยของคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต นักศึกษาในระดับชาติ
ผศ.ดร.กนกอร บุญมี อธิการดีมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยภายในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้กำหนดจัดการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 10 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 ภายใต้หัวข้อหัวข้อ “การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน โดยใช้รูปแบบการนำเสนอผลงานแบบออนไลน์ ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้บริหารจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัย และนวัตรกรรม รวมไปถึงคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยและต่างประเทศได้มาร่วมแลกเปลี่ยนและร่วมนำเสนอผลงาน ผ่านการประชุมแบบออนไลน์
อันเนื่องมาจาก สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆรอบโลกที่เกิดขึ้น หลังวิกฤติโควิด-19 ที่มีผลให้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ชุมชน สังคมทุกพื้นที่เกิดวิถีชีวิตปกติใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านพฤติกรรม การศึกษา การสื่อสาร ดังนั้นจึงเป็นภารกิจร่วมกันของเราทุกคนที่เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และนำพาสังคมของเราให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงนี้ และเตรียมผู้นำรุ่นใหม่ ที่เต็มเปี่ยมด้วยประสบการณ์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัย งานวิจัยและนวัตกรรมที่รุ่นเราได้พัฒนาขึ้นมา เพื่อนำพาไปสู่ “การพัฒนาชุมชน สังคม อย่างยั่งยืน”
“มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ร่วมมือกับสถาบันเจ้าภาพร่วม ให้มีการจัดประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ การจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ เป็นการรวมพลังนักคิด นักพัฒนา รวมผลงานที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคม จากผลงานในการประชุมวิชาการครั้งที่ 1 -9 ที่จัดขึ้น ทั้งหมด 2,350 เรื่อง และรวมครั้งนี้จะเห็นได้ว่านักคิด นักพัฒนา นักวิจัยรุ่นเราได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ไว้หลายอย่างที่จะส่งต่อให้ผู้นำรุ่นใหม่นำไปใช้ในการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในชุมชน สังคมได้เป็นอย่างดี โดยลักษณะของงานวิจัยที่นำเสนอ แยกเป็นผลงานวิจัยของคณาอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ที่สนใจทั้งในและต่างประเทศ,ผลงานวิทยานิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ระดับปริญญาโท – ปริญญาเอก ของนักศึกษาระดับและบัณฑิตศึกษาสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้ง มีช่องทางการเผยแพร่ในรูปแบบ Metaverse Conference เพื่อให้สอดคล้องกับยุคและวิถีดิจิทัลด้วย”
ขณะเดียวกันยังคงมีการแบ่งกลุ่ม งานวิจัยและวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ ทั้งระดับชาติ และนานาชาติ ได้แบ่งเป็น 6 กลุ่มประกอบด้วย ด้านการศึกษา (ED) เช่น การบริหารการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรและการสอน การวัดและการประเมินผลการศึกษาและนวัตกรรมทางการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (HS) เช่น พยาบาลศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และเทคนิคการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ST) เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (HSS) เช่น นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ ด้านบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ (BE) เช่น บริหารธุรกิจ การจัดการท่องเที่ยว โรงแรม และเศรษฐศาสตร์ ด้านการเกษตรและการประมง (AF)
โดยมีสถาบันเจ้าภาพร่วมจัดประชุมฯ จำนวน 32 สถาบันทั้งในและต่างประเทศ และมีผู้ส่งบทความที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 105 บทความ ดร.ธีนิดา บัณฑรวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวรายงาน