อว. ส่งเสริมแนวทางสร้างรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิตที่ เปิดกว้างและตอบรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ด้วยโครงการ “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับโอกาสและสร้างแรงจูงใจในการหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นและพัฒนาศักยภาพในการทำงานรองรับวิถีชีวิตใหม่ ดำเนินโครงการฯ โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มหาวิทาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ร่วมกันลงนามความร่วมมือในการร่วมขับเคลื่อน “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง”
วันที่ 9 มิถุนายน 2565 รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิด และเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือแสดงเจตจำนงในการขับเคลื่อนโครงการ “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย วช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย มนร. จ.สุราษฎร์ธานี และ มรส. เพื่อร่วมกันสร้างและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงวัยในรูปแบบ Digital Education & On the job Coaching และ Model กระบวนการจัดการความรู้จากการวิจัยมาเพื่อเพิ่มทักษะ รวมถึงนำหลักสูตรการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพในโรงเรียนผู้สูงวัย Online & Onsite โดย Senior Trainer และ Reskill & Upskill ในทักษะที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย เพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ โดยมี นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราฎร์ธานี กล่าวต้อนรับ และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวความเป็นมาของโครงการฯ และ มี ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม และดร.มนัสวิน นันทเสน หรือ ติ๊ก ชิโร่ นักร้องนักแสดงเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย ณ ลานสะพานนริศ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า เรื่องนี้ถ้าทำคนเดียว นอกจากจะไม่สนุก และก็จะไม่สำเร็จด้วย ท่านรัฐมนตรี อว. จึงมีความมุ่งมั่นอยากให้ผู้สูงวัยอยู่แบบมีความสุขทุกช่วงวัย แต่ก่อนที่จะมีความสุขได้จริง ๆ ต้องมีความสนุกก่อน เพราะฉะนั้นงานนี้การันตีว่า มีแต่ความสนุก และมีแต่ประโยชน์ คิดง่าย ๆ ถ้าอยากรู้ว่าทำอย่างไรให้พลังวัยเก๋ามีความสุขและสนุกในยุคดิจิตอลได้ คือต้องถาม ในวันนี้ได้ถามมาแล้ว ผู้สูงวัยส่วนใหญ่อยากใช้ line อยากเล่นเพจ และเฟชบุ๊คเป็น ร่วมถึงอยากชื้อของและขายของในออนไลน์ได้ แค่นี้ผู้สูงวันก็มีความสุข เพราะฉะนั้นงานของกระทรวง อว. คือการสร้างความสุข เพิ่มพลังให้ผู้อายุ
นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราฎร์ธานี กล่าวว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และภาคีเครือข่าย มีความมุ่งมั่นและเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและพัฒนาความสามารถของผู้สูงอายุด้านการเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันสร้างและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงวัยในรูปแบบ Digital Education & on the job Coaching และ Model กระบวนการจัดการความรู้จากการวิจัยมาเพื่อเพิ่มทักษะ และเพื่อร่วมกันนำหลักสูตรการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพในโรงเรียนผู้สูงวัย Online & Onsite โดย Senior Trainer และ Reskill& Upskill ในทักษะที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย เพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ โครงการนี้สามารถทำให้กลุ่มเป้าหมายใช้งานฟังก์ชันเบื้องต้นของแอฟพลิเคชั้น Line Camera โดยเฉพาะการใส่ข้อความและสติกเกอร์บนภาพ สามารถจำแนกการใช้งานฟังก์ชันต่างๆของเฟชบุ๊คเพจ สามารถแยกแยะความต่างของแคปชั่นและคอนเทนต์ได้ ตลอดจนสามารถผลิตนวัตกรรมเพื่อจำหน่ายออนไลน์ได้
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้รับมอบหมายจากกระทรวง อว. ในยุทธศาสตร์ Quick Wins เรื่อง “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” ให้ วช. ดำเนินการสร้างกลไกการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทย โดยคนเกษียณหรือผู้สูงอายุควรได้รับโอกาสและสร้างแรงจูงใจในการเข้าสู่สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นและพัฒนาศักยภาพในการทำงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดงาน ในภาครัฐและภาคเอกชน หรือความต้องการในการทำงานให้ได้มีโอกาสเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ซึ่ง วช. ได้กำหนดให้มีแผนงาน “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ผ่านการสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย โดยให้ความสำคัญกับฐานความรู้เดิมและองค์ความรู้ที่มีอยู่ของสถาบันการศึกษา ที่พร้อมนำไปต่อยอดและขยายผล ร่วมกับหน่วยงานและมหาวิทยาลัย ภายใต้กระทรวง อว. และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ และผลสัมฤทธิ์ ตามเป้าหมายที่วางไว้ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้สูงอายุไทย
ซึ่งโครงการ “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” ได้ดำเนินการขับเคลื่อนและขยายผลเข้าสู่ ระยะที่ 2 โดยมุ่งที่จะผลักดันให้เกิดผลและเพิ่มความยั่งยืนให้มากขึ้น โครงการ “การพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพในโรงเรียนผู้สูงวัยเพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่” เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้แผนงาน “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” ระยะที่ 2 โดยโครงการนี้ จะนำฐานความรู้เดิมและองค์ความรู้ที่มีอยู่ของสถาบันการศึกษา ร่วมกับการใช้กิจกรรมเข้ามาบูรณาการ การเรียนรู้ของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสร้างหลักสูตรการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพในโรงเรียนผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุมีคุณลักษณะ “อยากรู้ อยากมีรายได้ อยากทำ” และสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการของผู้สูงอายุ เพิ่มและพัฒนาทักษะ Reskill & Upskill ให้กับผู้สูงอายุ และเพื่อเป็นการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในการเข้าสู่สังคมวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
กิจกรรมภายในงานฯ มีกิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผ่านกิจกรรม “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง กิจกรรมแสดงพลังวัยเกษียณ (เตะปิ๊บ) และการแสดงจากกลุ่มผู้เกษียณ (เต้นบาสโลบ) มินิคอนเสิร์ตจากศิลปินนักร้องวัยเก๋า “ติ๊ก ชิโร่” อีกด้วย